นโยบายพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทพานาโซนิค 10. พัฒนาคนและใช้ศักยภาพของคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

​(1) แนวคิดในการให้ความสำคัญกับผู้คนของกลุ่มบริษัทพานาโซนิค

ความสามารถโดยรวมขององค์กรคือ การรวบรวมความสามารถของแต่ละ
คน ดังนั้นเพื่อยกระดับความสามารถโดยรวมขององค์กร ทุกคนต้องค้นหาว่าอะไร
คือสิ่งที่เราควรทำในการทำงานของตนเอง ใช้ความสามารถดังกล่าวอย่างเต็มที่
และดำเนินการปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

เมื่อเป้าหมายของพนักงานแต่ละคนและทิศทางที่บริษัทตั้งเป้าไว้ มีความ
สอดคล้องกัน หรือกล่าวให้ลึกลงไปกว่านั้นก็คือหากเป้าหมายของบริษัทเป็น
ส่วนต่อขยายของเป้าหมายส่วนบุคคล เราจะสามารถรวบรวมความพยายามของแต่
ละคนให้เป็นหนึ่งเดียวได้ และสามารถทำงานได้อย่างดีเยี่ยมไม่เป็นสองรองใคร
ในฐานะองค์กรจนทำให้ลูกค้าเลือกเรา

เพื่อให้บรรลุในสิ่งที่กล่าวไปข้างต้น ผู้บังคับบัญชาควรเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิก
และคุณสมบัติของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนอย่างถ่องแท้ เปิดโอกาสให้แต่ละคน
ได้แสดงจุดที่ยอดเยี่ยมของตนเอง และทำให้แน่ใจว่าพวกเขาสามารถใช้ศักยภาพ
ของตนเองด้วยความรู้สึกว่าคุ้มค่าที่จะทำได้ ในขณะเดียวกันผู้ใต้บังคับบัญชาก็
ต้องเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองและขัดเกลาตัวเองอยู่เสมอด้วยเช่นกัน

กล่าวคือ พนักงานแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการเติบโตของกลุ่มบริษัท
พานาโซนิค กลุ่มพานาโซนิคจะสามารถอุทิศตนให้กับสังคมต่อไปในอนาคต
ต่อไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงานแต่ละคนที่
ทำงาน

จากภูมิหลังนี้ รากฐานสำคัญในการบริหารจัดการของเราคือ การพัฒนา
และนำ “ทรัพยากรบุคคล” อันมีค่าที่สังคมมอบให้กับเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์
สูงสุด ดังที่ผู้ก่อตั้งบริษัทได้กล่าวไว้ว่า “A company is its people (ธุรกิจคือ
บุคคล)”

“A company is its people (ธุรกิจคือบุคคล)” ไม่ว่าจะเป็นการบริหาร
จัดการประเภทใดก็ตาม การหาคนที่เหมาะสมคือก้าวแรกสู่การพัฒนา ไม่ว่าจะเป็น
บริษัทที่มีประวัติและตำนานที่ยิ่งใหญ่เพียงใด หากไม่สามารถหาคนมาสืบทอด
ตำนานดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง บริษัทก็จะค่อย ๆ เสื่อมถอยในที่สุด แน่นอนว่า
องค์กรและวิธีบริหารจัดการมีความสำคัญมาก แต่ผู้ที่นำองค์กรหรือวิธีการมาใช้ให้
เกิดประโยชน์ได้ก็คือคนนั่นเอง <ตัดข้อความบางส่วน> ดังนั้น ในการบริหาร
จัดการธุรกิจ ก่อนอื่นเราต้องจัดหาคนและพัฒนาคนให้มีศักยภาพ

(2) เพิ่มขีดความสามารถของตนเอง

ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มบริษัทพานาโซนิค เราต้องตัดสินคุณค่าที่
ถูกต้องด้วย “หัวใจที่ซื่อตรง” ตามนโยบายพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจอยู่เสมอ
ยกระดับความสามารถของเราด้วยการปฏิบัติตามนโยบายอย่างเข้มงวดในทุก ๆ
วัน และพิจารณาทบทวนประสบการณ์ดังกล่าวด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “จิตวิญญาณอันสมควรปฏิบัติตาม (อนุสติ 7 ประการ)”
นี่เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาตนเองในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มบริษัท
พานาโซนิค ในขณะเดียวกันก็เป็นแนวทางเพื่อการดำรงชีวิตที่ดียิ่งขึ้นในฐานะ
นักธุรกิจที่ตั้งใจจะอุทิศตนให้กับสังคมอีกด้วย นาย อาราทาโร่ ทาคาฮาชิ อดีต
ประธานกรรมการได้กล่าวถึงความสำคัญของการนำแนวคิดดังกล่าวไปปฏิบัติจริง
ไว้ดังนี้

“อนุสติ 7 ประการ” คือจิตวิญญาณอันเป็นรากฐานของนโยบายพื้นฐานใน
การดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างเช่น เนื้อหาของ “การมีส่วนช่วยเหลือสังคม” คือแนว
ปฏิบัติของ “วัตถุประสงค์พื้นฐานในการบริหารงาน” การนำสิ่งเหล่านี้มาปฏิบัติ
อย่างเป็นรูปธรรมหมายถึงการทำงานที่ไม่เป็นสองรองใครในด้านคุณภาพ
ต้นทุน และบริการ ทำให้ลูกค้าเลือกเรา หากมีความเข้าใจไปในทิศทางนี้ เราก็
ต้องพิจารณาทบทวนอยู่เสมอว่า “ผลิตภัณฑ์ที่เราทำขึ้นมาสามารถมีส่วนช่วยเหลือ
สังคมได้จริงหรือไม่ วิธีการผลิตในปัจจุบันของเราเหมาะสมหรือไม่” หากทบทวน
และพิจารณาเช่นนี้เป็นประจำทุกวันตลอดจนสั่งสมสิ่งเหล่านี้ไปอย่างต่อเนื่องก็
จะก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นโยบายพื้นฐานก็จะสะท้อนให้เห็นในการ
ทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างคนโดยไม่มีนโยบาย
พื้นฐาน

บริษัทมีหน้าที่พัฒนาบุคลากรอย่างเหมาะสมในช่วงเวลาที่เหมาะสม ในทาง
ตรงกันข้าม เราทุกคนต้องมีความทะเยอทะยาน ตั้งเป้าหมายว่าตัวเราควรเป็นแบบ
ไหน สิ่งที่เราต้องการเป็นคืออะไร และพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ดังกล่าวด้วยเช่นกัน

(3) แนวคิดในการพัฒนาบุคลากร

ผู้ก่อตั้งบริษัทได้อธิบายถึงบทบาทของการพัฒนาบุคลากรในกลุ่มบริษัท
พานาโซนิคไว้ด้วยถ้อยคำที่ว่า “ก่อนสร้างผลิตภัณฑ์ต้องสร้างคนก่อน” เขาคิดว่า
การจะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นมาได้นั้นจำเป็นต้องสร้างบุคลากรที่เหมาะสมขึ้นมา
ก่อน

ถ้าเช่นนั้น เราจะสร้างบุคลากร และใช้ศักยภาพของพวกเขาให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร แนวคิดพื้นฐานคือการพัฒนา “ทรัพยากรบุคคล” โดย
ทำความเข้าใจถึงนโยบายพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจอย่างถ่องแท้ ปฏิบัติงาน
อย่างจริงจังตามนโยบายดังกล่าว พิจารณาทบทวนอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน และ
มุ่งมั่นที่ยกระดับตนเองให้ดีขึ้นในทุก ๆ วัน

สิ่งสำคัญในการพัฒนาบุคลากรคือการมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
อย่างไม่ลังเล นี่คือกุญแจสำคัญของ “การบริหารรับผิดชอบแบบเอกเทศ” ส่วนที่
ทำหน้าที่พัฒนาบุคลากรคือหน้างาน ทั้งนี้เพื่อให้พวกเขามีความสามารถในการ
ทำงานด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดี เราต้องให้พวกเขาดำเนินกิจกรรมที่หน้างานโดย
ถือว่านั่นเป็นปัญหาของพวกเขา ให้คิดพิจารณาด้วยตัวเอง เรียนรู้พร้อมกับลงมือ
ปฏิบัติจริงด้วยตัวเอง

การมอบหมายงานมิได้หมายความว่าจะโยนทุกอย่างให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
รับผิดชอบ ผู้บังคับบัญชาต้องตระหนักว่าตัวเองเป็นผู้รับผิดชอบในขั้นสุดท้าย
ตลอดจนกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคิดพิจารณาอย่างเป็นอิสระและดำเนินการ
ปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือไม่ต้องสอนทุกอย่าง แต่เป็นการ
สื่อสารที่ทำให้พวกเขาได้คิดเอง ตระหนักรู้ด้วยตัวเอง จนสิ่งเหล่านั้นแทรกซึมอยู่
ในตัวของพวกเขา

แม้ว่าบางครั้งจะต้องปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่สิ่งที่สำคัญ
ที่สุดคือการปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความจริงใจและความเมตตา เพื่อให้ผู้ใต้บังคับ
บัญชาทุกคนไว้วางใจในตัวผู้บังคับบัญชาและทำงานเพื่อการเติบโตของตนเองได้
อย่างได้สบายใจนั่นเอง

เมื่อต้องแสดงความรับผิดชอบในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยการไตร่ตรองอย่าง
รอบคอบว่า “มอบหมายงานแต่ไม่มอบหมายทุกอย่าง” ในลักษณะเช่นนี้ ผู้บังคับ
บัญชาต้องนำร่องให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเองและคิดให้ละเอียดถี่ถ้วนถึง
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ผู้บังคับบัญชาเองก็ต้องเรียนรู้จาก
ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยเช่นกัน สิ่งนี้จะนำไปสู่การเติบโตของตัวผู้บังคับบัญชาเอง
ด้วย

ตัวอย่างหนึ่งของการนำแนวคิดไปลงมือปฏิบัติจริงคือช่วงก่อตั้งโรงงาน
ซากะ ในการก่อตั้งโรงงานแบตเตอรี่แห้งของคิวชู มัตสุชิตะ อิเล็คทริค ช่วงครึ่ง
หลังของปี พ.ศ. 2498 ที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ในขณะนั้น นาย อาราทาโร่ ทาคาฮาชิ
อดีตประธานกรรมการได้คัดเลือกพนักงานหนุ่มสาวอายุประมาณ 30 ปี สองคน
โดยพวกเขาไม่มีประสบการณ์ในการก่อตั้งโรงงานมาก่อน เขามอบหมายให้ทั้ง
สองคนรับผิดชอบทั้งหมดตั้งแต่การก่อสร้างอาคารใหม่ การสร้างเครื่องจักร
อุปกรณ์ จนถึงเริ่มการผลิต

นาย อาราทาโร่ ทาคาฮาชิ อดีตประธานกรรมการอธิบายเพียงแนวคิดพื้นฐาน
โดยมิได้บอกกล่าวเงื่อนไขรายละเอียดใด ๆ และในขณะเดียวกันก็แสดงความ
ต้องการที่เข้มงวด เช่น ออกคำสั่งให้พนักงานทั้งสองคนลดงบประมาณลงครึ่งหนึ่ง
จากแผนต้นทุนในการก่อสร้างอาคารตอนแรก ฯลฯ ทั้งสองคนจึงพยายามอย่าง
เต็มที่และนำความคิดริเริ่มต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงสามารถ
ก่อตั้งโรงงานได้โดยใช้ต้นทุนน้อยกว่างบประมาณที่วางไว้ในตอนแรก หลังจาก
นั้นทั้งสองคนก็ได้มีส่วนร่วมกับการเริ่มต้นโรงงานในต่างประเทศ และการบริหาร
จัดการกลุ่มบริษัทในฐานะผู้บริหาร

การพัฒนาบุคลากรเป็นงานที่สำคัญที่สุดของผู้บังคับบัญชา กลุ่มบริษัท
พานาโซนิคมุ่งมั่นที่จะอุทิศตนเพื่อการพัฒนาของสังคมไปสู่ “สังคมในอุดมคติ”
ต่อไป แม้ว่าเราจะสร้างอุดมคติและเป้าหมายอย่างยิ่งใหญ่เช่นนี้ แต่อาจกล่าวได้ว่า
ระยะเวลาที่เราแต่ละคนสามารถมีส่วนร่วมในธุรกิจได้นั้นเป็นเวลาเพียงชั่วครู่
ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากมุมมองที่ว่าเราต้องการจะรักษาธุรกิจของเราให้ดำรงอยู่
ตลอดไป นั่นหมายความว่าผู้บังคับบัญชาจะต้องพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาที่สามารถ
ฝากฝังอนาคตในรุ่นต่อไปได้นั่นเอง

ผู้ใต้บังคับบัญชามีหน้าที่ชี้แนะให้ผู้บังคับบัญชาพัฒนาแซงหน้าตัวคุณเอง
เมื่อสังคมวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ย่อมเป็นเรื่องยากที่วิธีการแบบเดิม ๆ
จะใช้ได้ผลสำหรับรุ่นถัดไป ดังนั้นเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานอยู่ภายใต้ความ
รับผิดชอบของตน ผู้บังคับบัญชาต้องพัฒนาพวกเขาให้สามารถรับมือกับปัญหาที่
เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ ได้โดยการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์เฉพาะหน้า
ได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ คนรุ่นก่อนยังได้ฝากคติพจน์อีกมากมายทิ้งไว้เกี่ยวกับการ
สร้างคนและการใช้ศักยภาพของคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราหวังว่าทุกคนจะ
นำสิ่งเหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาบุคลากรและขัดเกลาตัวเองให้เติบโต
ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ

ชุดของแนวทางการทำงานสำหรับพนักงานทุกคนในการพยายามนำปรัชญาธุรกิจพื้นฐานมาใช้ประโยชน์