นโยบายพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทพานาโซนิค 2. พันธกิจของกลุ่มบริษัทพานาโซนิคและสิ่งที่เราต้องทำในตอนนี้


    ผู้ก่อตั้งบริษัทยังคงไตร่ตรองถึงพันธกิจที่แท้จริงของบริษัท และในวันที่
5 พฤษภาคม พ.ศ 2475 เขาได้รวบรวมพนักงานทั้งหมดในขณะนั้นเพื่อกล่าว
ถ้อยคำประกาศอันทรงพลัง กลุ่มบริษัทพานาโซนิคเรียกสิ่งนี้ว่า “Meichi” ของ
การก่อตั้งบริษัท ซึ่งมีความหมายว่า “การรับรู้พันธกิจที่แท้จริงของเรา”

    ผู้ก่อตั้งบริษัทกล่าวว่า “พันธกิจของนักอุตสาหกรรมอย่างพวกเราคือการ
เอาชนะความยากจนและนำความมั่งคั่งมาสู่สังคม เพื่อจุดประสงค์นี้เท่านั้นบริษัท
ถึงได้รับอนุญาตให้เจริญรุ่งเรืองได้” เขาจึงเรียกร้องให้เอาชนะความยากจนโดย
การลดราคาสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีพให้มีราคาถูกที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่นเดียว
กับน้ำประปาในประเทศที่สามารถเปิดใช้จากก๊อกได้อย่างอิสระ กล่าวคือ การขจัด
ความยากจนจะบรรลุผลได้ด้วย “การผลิตสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพที่มีอุปทานไม่
สิ้นสุด”

    อย่างไรก็ตาม เจตจำนงอันแท้จริงของผู้ก่อตั้งบริษัทที่แฝงอยู่ในแนวคิด
เรื่อง “ปรัชญาการประปา” นี้ คือคำกล่าวที่ว่า “เราสามารถรักษาและเสริมสร้าง
ความสุขของมนุษย์ได้ด้วยความมั่งคั่งทางวัตถุและทางจิตวิญญาณ ความสุขในชีวิต
ที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้เมื่อความมั่นคงทางจิตใจผสานกับการได้รับสิ่งจำเป็นใน
การดำรงชีพโดยเฉพาะ” ตามที่ได้แสดงให้เห็นในจุดมุ่งหมายดังกล่าว

    เพื่อให้บรรลุพันธกิจนี้ ผู้ก่อตั้งบริษัทได้กำหนดแผน 250 ปีขึ้นมา โดยแบ่ง
ออกเป็น 10 ช่วงต่อเนื่องกันทุก ๆ 25 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้าง “สวรรค์” หรือ
ก็คือ “สังคมในอุดมคติ” นั่นเอง นอกจากนี้เขาได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าแผน 250 ปี
ไม่ควรสิ้นสุดลงหลังจาก 250 ปีแรก แต่ควรขยายออกไปอีก 250 ปีข้างหน้าด้วย
เพื่อมุ่งสู่อุดมคติที่สูงยิ่งขึ้นในรูปแบบที่เหมาะสมกับอุดมคติในยุคสมัยนั้น ๆ

    แม้ว่า “ปรัชญาการประปา” จะได้รับการหยิบยกมากล่าวอ้าง 90 ปีก่อน แต่
แนวคิดในการมุ่งสู่ความมั่งคั่งทั้งทางวัตถุ และทางจิตวิญญาณนั้นยังคงสามารถ
นำมาใช้กับยุคปัจจุบันได้เช่นกัน มิได้ล้าหลังแต่อย่างใด

    อันที่จริง ในหลากหลายสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาแล้วมัก
เต็มด้วยวัตถุต่าง ๆ มากมาย แต่เมื่อพิจารณาถึงการทำลายสิ่งแวดล้อมและการ
สูญเสียทรัพยากรพลังงานที่หมดลงไปอย่างรวดเร็วในแต่ละปีแล้ว ทำให้เกิด
ความวิตกกังวลอย่างมากว่าลูกหลานของเรา หรือแม้กระทั่งผู้คนรุ่นถัด ๆ ไปจะยัง
สามารถดำรงชีวิตอย่างมั่งคั่งอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ได้หรือไม่

    ที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ เราได้ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้นไปที่การแสวงหาความ
มั่งคั่งผ่านทางการส่งมอบสิ่งของต่าง ๆ เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม เราต้องตระหนัก
ว่านี่ยังห่างไกลจาก “สังคมในอุดมคติ” อยู่มาก ถึงกระนั้น เราก็ไม่สามารถ
ย้อนกลับบนเส้นทางเดิมได้ เราต้องจินตนาการภาพ “สังคมในอุดมคติ” ที่ “วัตถุ
กับจิตวิญญาณรวมกันเป็นหนึ่งเดียว” กล่าวคือมีความมั่งคั่งทั้งทางวัตถุและ
จิตวิญญาณขึ้นมาอีกครั้งจากปัจจุบัน ตลอดจนขับเคลื่อนไปข้างหน้าเพื่อสร้าง
สังคมดังกล่าวกลายเป็นจริง

    เพื่อให้ “สังคมในอุดมคติ” กลายเป็นจริง เราจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับ
ปัญหาทางสังคมอย่างตรงไปตรงมาเป็นครั้งคราวและอุทิศตนในการแก้ปัญหา
ดังกล่าว ในจำนวนนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกเป็นสิ่งที่ควรได้รับความสำคัญสูงสุด
ในศตวรรษที่ 21

    กลุ่มบริษัทพานาโซนิคเป็นบริษัทแรกของโลกที่ออกกฎบัตรด้านสิ่งแวดล้อม
ของตนเองขึ้นในปี พ.ศ. 2534 และได้เผชิญหน้ากับปัญหานี้มาอย่างยาวนาน ทั้งนี้
เพื่อก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทผู้นำในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต เราจำเป็น
ต้องดำเนินการเชิงรุกจากมุมมองที่หลากหลาย อาทิ การลดภาระด้านสิ่งแวดล้อม
ผ่านสินค้าและการบริการ รวมถึงการลดปริมาณพลังงานที่ใช้ในกิจกรรมการ
ผลิตของเรา