นโยบายพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทพานาโซนิค 6. การนำนโยบายพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ
ไปใช้ปฏิบัติจริง

นโยบายพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ สามารถปลูกฝังให้กับทุกคนได้ โดย
การนำไปใช้ปฏิบัติจริง นาย อาราทาโร่ ทาคาฮาชิ อดีตประธานกรรมการได้กล่าว
ไว้ว่า “นโยบายพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ จะเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์อันใดเลย
หากว่าคุณจะจดจำไว้ในหัวได้ แต่ไม่มีการนำสิ่งเหล่านั้นมาสร้างเป็น “รากฐานที่
ไม่สั่นคลอน” สิ่งสำคัญคือการเริ่มนำไปใช้ปฏิบัติจริงด้วยตนเองและจดจำจน
เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย” ซึ่งเขาเองก็ได้นำมาประยุกต์ใช้กับการฟื้นฟูและพัฒนา
ธุรกิจของกลุ่มบริษัทต่าง ๆ เช่นกัน

ส่วนนี้จะอธิบายถึงสิ่งที่ควรทำความเข้าใจในฐานะข้อกำหนดเบื้องต้น
สำหรับการนำนโยบายพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจไปใช้ปฏิบัติจริง

(1) จินตนาการถึง “อนาคตที่ควรจะเป็น” และแสวงหาคุณค่าแท้จริงที่ลูกค้า
จะได้รับ

จุดมุ่งหมายของเราคือการสร้าง “สังคมในอุดมคติ” ที่มั่งคั่งด้วยวัตถุและจิต
วิญญาณ ธุรกิจแต่ละอย่างก็เช่นเดียวกัน เราต้องวาดภาพอนาคตในอุดมคติ
สำหรับธุรกิจแต่ละอย่างออกมา ตลอดจนมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้บรรลุจุดมุ่งหมาย

อนาคตในอุดมคติที่กล่าวถึงในที่นี้ มิใช่การยึดตามตรรกะเดียวกับที่ใช้อยู่
ในปัจจุบัน และมิใช่การพิจารณาจากมุมมองของเราเองแต่เพียงผู้เดียว เราต้อง
จินตนาการรูปแบบในอนาคตที่ควรจะเป็น โดยคำนึงถึงมนุษย์เป็นหลักว่า การ
ใช้ชีวิตของผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อมโลกในอนาคตควรเป็นเช่นไร ควรทำให้
อยู่ในรูปแบบไหน เพื่อให้แน่ใจได้ว่าลูกหลานของเราดำรงชีวิตได้อย่างสมบูรณ์
สุขกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งทางวัตถุและทางจิตวิญญาณ

เมื่อคิดย้อนกลับจากจุดนั้น เราควรพิจารณาให้รอบคอบว่าธุรกิจของตน
ควรมีบทบาทอย่างไร ธุรกิจของเราควรได้รับการปฏิรูปและขัดเกลาความสามารถ
ในการแข่งขันอย่างไร เพื่อให้มีบทบาทที่ไม่เป็นสองรองใคร และควรใช้มาตรการ
แบบใดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น พร้อมทั้งสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างจริงจัง

เพื่อสร้างอนาคตในอุดมคติให้กลายเป็นจริง ผ่านผลิตภัณฑ์ และบริการ
จากธุรกิจของเราที่เป็นรูปธรรม เราจะต้องแสวงหาคุณค่าแท้จริงที่ลูกค้าจะได้รับ
ซึ่งมิได้หมายถึงการแสวงหาประสิทธิภาพหรือคุณภาพที่มากจนเกินไป อีกทั้งมิใช่
เพียงการทำตามสิ่งที่ลูกค้าร้องขอให้เราทำเท่านั้น แต่หมายถึงการให้ความใกล้ชิด
กับลูกค้าอย่างแท้จริง สามารถมองเห็นถึงแก่นของปัญหา และความยากลำบาก
ของลูกค้า รวมถึงอนาคตของพวกเขา แล้วดึงสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับลูกค้า
อย่างแท้จริงออกมาให้เห็นรูปธรรมได้

ต้องฟังเสียงลูกค้าปัจจุบันของเราอย่างรอบคอบ และปรับปรุงผลิตภัณฑ์
ของเราให้ดียิ่งขึ้นจากมุมมองของพวกเขา ในทางกลับกัน “การให้ความใกล้ชิดกับ
ลูกค้าอย่างแท้จริง” นั้น หมายถึงการพิจารณาไปจนถึงขั้นที่ว่าเราจะปรับปรุงการ
ใช้ชีวิตและสังคมในอนาคตเพื่อประโยชน์ของพวกเขาได้อย่างไร ตลอดจนกล้าที่
จะเผชิญกับความท้าทายเพื่อลูกค้าโดยตั้งเป้าให้บรรลุผลตามที่กำหนดไว้

ธุรกิจในกลุ่มบริษัทพานาโซนิคจำนวนมาก ได้รับการพัฒนาต่อยอดภายใต้
แนวคิดที่ว่านี้ อาทิ ธุรกิจมอเตอร์ ในช่วงปี 1930 ผู้ก่อตั้งบริษัทได้จินตนาการถึง
อนาคตว่าหลังจากนี้แต่ละครัวเรือน จะใช้มอเตอร์โดยเฉลี่ยจำนวน 10 ตัว และจาก
วิสัยทัศน์นี้เขาจึงเปิดตัวธุรกิจมอเตอร์ขึ้นมา อีกทั้งในขณะเดียวกัน เขาได้
ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะส่งมอบวิทยุให้กับหลายครัวเรือนในราคาเพียงครึ่งเดียวจาก
ราคาปกติ เพื่อให้ “ผู้คนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายยิ่งขึ้น” และเขาก็ประสบ
ความสำเร็จในการลดต้นทุนให้เหลือเพียงครึ่งเดียว

หนทางสู่อนาคตที่ควรจะเป็นนั้นยาวไกลและสูงชัน ในความเป็นจริงธุรกิจ
มอเตอร์ที่เริ่มต้นจากศูนย์นั้นยังคงซบเซาในช่วงแรก แม้แต่ภายในบริษัทเองก็มี
การส่งเสียงแสดงความคิดเห็นว่า “ควรปิดโรงงาน”

อย่างไรก็ตาม นาย อาราทาโร่ ทาคาฮาชิ อดีตประธานกรรมการได้กล่าวกับ
พนักงานในหน่วยธุรกิจมอเตอร์ทุกคนว่าให้นำนโยบายขั้นพื้นฐานในการดำเนิน
ธุรกิจมาปฏิบัติจริง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การสร้างคุณภาพ ต้นทุน และบริการที่ไม่
มีใครเทียบได้ ซึ่งทุกคนในฝ่ายผลิต ฝ่ายวิศวกรรม และฝ่ายขายต่างให้การตอบรับ
และดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจมอเตอร์เฟื่องฟูเป็นอย่าง
มากจนผลิตไม่พอ เราต้องใช้เวลาประมาณ 20 ปีกว่าจะถึงจุดนั้น อย่างไรก็ตาม
การพัฒนาธุรกิจมอเตอร์มีส่วนอย่างมากต่อการพัฒนาเครื่องใช้ภายในบ้านที่
เกิดขึ้นในภายหลัง

เราต้องจินตนาการถึงอนาคตที่ควรจะเป็นสำหรับธุรกิจแต่ละรายการของ
เราในลักษณะเช่นนี้ ตลอดจนแสวงหาคุณค่าแท้จริงที่ลูกค้าจะได้รับ

(2) แนวปฏิบัติสำหรับแนวคิดเรื่อง “ความเป็นธรรมทางสังคม” และ “การ
อยู่ร่วมกันและการเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน”

ตราบใดที่เราดำเนินธุรกิจโดยใช้ทรัพยากรการบริหารจัดการที่ได้รับ
มอบหมายจากสังคม เราต้องใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างเหมาะสมเพื่อสังคม และเติม
เต็มความรับผิดชอบของเราต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นดังกล่าวอย่างเต็มที่เช่นกัน

นอกเหนือจากการไม่ละเมิดกฎหมายและศีลธรรมทางสังคมแล้ว เราต้อง
พิจารณาเสมอว่า “อะไรคือสิ่งที่ถูกต้องสำหรับสังคม” แสวงหาความรู้ที่ถูกต้อง
และนำไปใช้ปฏิบัติจริง ผู้ก่อตั้งบริษัทเน้นย้ำถึงความสำคัญของการกระทำดังกล่าว
ด้วยคำว่า “ความเป็นธรรมทางสังคม” การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของ
พนักงานถือเป็นข้อกำหนดเบื้องต้น การปฏิบัติตามแนวคิด “ความเป็นธรรมทาง
สังคม” อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม อุตสาหกรรม
และพันธมิตรทางธุรกิจของเราอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัทที่จัดหาวัสดุ บริษัทคู่ค้า บริษัทจัดหา
แรงงาน ผู้รับเหมา ตัวแทนจำหน่ายและผู้จัดจําหน่ายสินค้า ฯลฯ ซึ่งมีความ
เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับธุรกิจของเราโดยเฉพาะ เราต้องนำแนวคิดที่ว่า มุ่งสู่
ความเจริญพัฒนาไปด้วยกัน

ในฐานะผู้ร่วมอุดมการณ์ที่มุ่งมั่นพัฒนาสังคม จำเป็นต้องมีการสื่อสารอย่าง
ตรงไปตรงมาและมีความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้
นอกจากนี้การพัฒนาร่วมกันในด้านผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และการปรับปรุงการ
ทำงานก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ ด้วยการดำเนินการเช่นนี้ แต่ละฝ่ายจะร่วมมือ
ซึ่งกันและกันในขณะที่ยังรักษาไว้ซึ่งความอิสระของตนเอง ส่งเสริมซึ่งกันและ
กัน เป็นจุดแข็งในภาพรวม ซึ่งจะนำไปสู่การแสดงบทบาทต่อสังคมมากยิ่งขึ้น นี่
คือแนวคิดพื้นฐานของ “การอยู่ร่วมกันและการเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” ในกลุ่ม
บริษัทพานาโซนิค

(3) กำจัดความสูญเปล่า การหยุดชะงัก และการทำงานซ้ำ

จากแนวคิดเรื่องผลกำไรของเราตามที่กล่าวไว้ใน “1. พันธกิจของบริษัท”
เราต้องถือว่าการขาดทุนคือ “ความผิด” แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่สร้าง
ผลกำไรได้มหาศาลเพียงใด หากธุรกิจดังกล่าวมีความสูญเปล่าและการหยุดชะงัก
เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก นั่นย่อมไม่ต่างอะไรกับการพอใจในผลลัพธ์ดังกล่าวทั้งที่
ในความเป็นจริงเราสามารถสร้างผลกำไรได้มากกว่านั้น นี่ก็ยังถือเป็น “ความผิด”
เมื่อมองถึงการพลาดโอกาสในการหารายได้เพื่อคืนกำไรให้กับพนักงาน ผู้ถือหุ้น
และสังคม ตลอดจนการอุทิศตนให้กับลูกค้าและสังคมในอนาคตได้มากยิ่งขึ้น

ย่อมเป็นเรื่องปกติที่การขาดทุนคือ ความผิด แต่ยิ่งไปกว่านั้น การปล่อยให้มี
ความสูญเปล่า การหยุดชะงัก และการทำงานซ้ำเกิดขึ้นในธุรกิจเองก็ถือเป็น
“ความผิด” ด้วยเช่นกัน เพราะไม่ว่างานของแต่ละคนจะเป็นงานที่เล็กน้อยเพียงใด
งานเหล่านั้นล้วนมีอยู่เพื่อผู้คนในสังคม และเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาสังคมอยู่
เสมอ

เมื่อพิจารณาในลักษณะเช่นนี้ อันที่จริงแล้วเราไม่ควรปล่อยให้มีความสูญ
เปล่าแม้แต่จุดเดียวเกิดขึ้นในกิจกรรมทางธุรกิจของเรา ทุก ๆ วันแต่ละคนต้อง
ตระหนักถึงความสูญเปล่าในทุกวินาที และดำเนินการปรับปรุงเพื่อกำจัดความ
สูญเปล่าเหล่านั้นให้หมดไป ดังนั้นเราควรเข้าใจว่า แม้แต่การจัดการกับสกรูหนึ่ง
ตัว หรือกระดาษหนึ่งแผ่น งานเหล่านั้นก็ควรนำไปสู่การพัฒนาสังคม และควร
ทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อให้งานออกมาดีที่สุดอยู่เสมอ

แน่นอนว่าวิธีการทำงานย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่ไม่ว่าจะอยู่ใน
ยุคใด เราก็ต้องเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานและธุรกิจ เสริมสร้างความสามารถ
ในการแข่งขันของหน้างาน และอุทิศตนเพื่อสังคมด้วยการกำจัดความสูญเปล่า
การหยุดชะงัก และการทำงานซ้ำอย่างจริงจรัง

(4) รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม

สังคมเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน อีกทั้งความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงก็
เพิ่มขึ้นทุกปี ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หากบางสิ่งเสื่อมโทรมและล่ม
สลายไป ในทางตรงกันข้ามบางสิ่งย่อมเกิดขึ้นใหม่ได้ แต่โดยรวมแล้วอาจกล่าว
ได้ว่าสังคมมีการก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยังมีปัญหาสังคมเกิดขึ้นมากมาย อัน
เนื่องมาจากปฏิกิริยาตอบโต้ที่มีต่อการพัฒนา อาทิ ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก
อย่างไรก็ตาม หากเราเห็นต้องเผชิญหน้ากับปัญหาดังกล่าวในฐานะสิ่งที่ควร
ได้รับการแก้ไข และมุ่งมั่นสู่การรับมือที่ดียิ่งขึ้นหรือการค้นห้าเส้นทางใหม่ ๆ ใน
กรณีนี้สามารถกล่าวได้ว่าสังคมของเรายังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปท่ามกลาง
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วัน ผู้ก่อตั้งบริษัทของเราเชื่อว่าหลักการ
“Growth and Development (เติบโตและพัฒนา)” นั้นใช้ได้กับทุกสรรพสิ่งใน
โลก

เพื่อให้เกิด “สังคมในอุดมคติ” ที่มีความมั่งคั่งทั้งทางวัตถุและทางจิตวิญญาณ
เราต้องจินตนาการถึงอนาคตที่ควรจะเป็นในแต่ละธุรกิจของเรา คาดการณ์อนาคต
ของลูกค้า ตลอดจนนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าของ
เราอย่างแท้จริง ในขณะเดียวกัน เราต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงทั้งที่อาจ
เป็นได้ทั้งเป็นโอกาส และภัยคุกคามสำหรับเรา

ในการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง และสัญญาณของการเปลี่ยนแปลง
ดังกล่าว สิ่งสำคัญมิใช่การพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างผิวเผิน แต่เป็นพิจารณาอย่าง
เป็นกลางตามที่ควรจะเป็น และเผชิญหน้าอย่างตรงไปตรงมา จับให้ได้ว่าแนวโน้ม
สำคัญที่อยู่เบื้องหลังคืออะไร นอกจากนี้เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง บางครั้ง
เราต้องพิจารณายกเลิกแม้ว่าจะเคยเป็นวิธีที่ได้ผลในอดีตมาก่อนก็ตาม

เราต้องมีความกล้ามากขึ้นในการละทิ้งสิ่งที่ควรยกเลิก ก้าวต่อไปข้างหน้า
ในแต่ละวันด้วยความรู้สึกใหม่ ๆ และวิธีการใหม่ ๆ ให้อยู่ในรูปแบบของ “start
anew every day” หรือการเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ ทุกวัน ทัศนคติเช่นนี้ จะทำให้เรา
ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม และท้าทายกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ด้วยความกระตือรือร้นอยู่เสมอ

ชุดของแนวทางการทำงานสำหรับพนักงานทุกคนในการพยายามนำปรัชญาธุรกิจพื้นฐานมาใช้ประโยชน์