นโยบายพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทพานาโซนิค 1. พันธกิจของบริษัท


    เหตุใดบริษัทจึงดำรงอยู่? โคโนสุเกะ มัตสุชิตะ ผู้ก่อตั้งบริษัทของเราเชื่อว่า
บทบาทและพันธกิจของบริษัท คือการเติมเต็มความปรารถนาของผู้คนในการ
“ใช้ชีวิตอย่างอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น” กล่าวอีกนัยหนึ่ง เขาเชื่อว่าพันธกิจแต่เดิมของ
บริษัท คือการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม โดยการจัดหาผลิตภัณฑ์ และบริการ
ที่มีคุณภาพเหนือกว่าและเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในราคาที่สมเหตุ
สมผลและในสัดส่วนที่เหมาะสม เขาเชื่อว่าเจ้าของบริษัทที่มีพันธกิจดังกล่าว มิใช่
ตัวบริษัท แต่เป็นสังคม และแสดงสิ่งนั้นออกมาเป็นวลีที่ว่าบริษัทคือ
“การประกอบการเป็นองค์กรสาธารณะของสังคม” นั่นเอง

    หากเชื่อว่าบริษัทคือ “การประกอบการเป็นองค์กรสาธารณะของสังคม” เรา
สามารถกล่าวได้ว่าทรัพยากร การบริหารจัดการที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจกรรม
ของบริษัท เช่น ทรัพยากรบุคคล เงินทุน ที่ดิน และสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีพ
ฯลฯ นั้น เป็นสิ่งที่ได้รับมอบมาจากสังคม ตราบใดที่ดำเนินกิจกรรมโดยใช้
ทรัพยากรที่สังคมมอบให้กับเรา บริษัทต้องใช้สิ่งเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สร้างผลลัพธ์ในเชิงบวกจากกิจกรรมดังกล่าว และอุทิศตนให้กับสังคม

    โดยทั่วไป มักมีมุมมองว่าวัตถุประสงค์ของบริษัทคือการแสวงหาผลกำไร
อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทพานาโซนิคถือว่าผลกำไรคือ “สิ่งที่สังคมมอบให้เพื่อ
เป็นค่าตอบแทนในการอุทิศตนให้กับสังคม” กล่าวคือ ผลกำไรจะเพิ่มสูงขึ้นตาม
ระดับการอุทิศตนให้กับสังคม และในทางกลับกันหากบริษัทอยู่ในสถานะที่ไม่
สร้างผลกำไร ย่อมหมายความว่าบริษัทมิได้แสดงความรับผิดชอบทางสังคมหรือ
ขาดความสามารถในการแสดงความรับผิดชอบทางสังคมนั่นเอง ดังนั้นเรา
สามารถรับรู้ได้ในทันทีว่าจำเป็นต้องดำเนินการปฏิรูป

    นอกจากนี้ บริษัทยังดำเนินธุรกิจโดยรักษาความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ
กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกหลายฝ่ายไปพร้อม ๆ กันด้วย เช่น ลูกค้า พันธมิตรทาง
ธุรกิจ ผู้ถือหุ้น และสังคม ดังนั้นบริษัทที่อยู่ในรูปแบบของ “การประกอบการเป็น
องค์กรสาธารณะของสังคม” จะไม่ได้รับอนุญาตจากสังคมให้พัฒนาตนเองโดย
ใช้ประโยชน์หรือการเสียสละตนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังกล่าว หนทางเดียวที่
จะทำให้บริษัทพัฒนาได้ในระยะยาวจึงเป็นการพัฒนาร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วน
เสียทุกฝ่ายนั่นเอง

    บุคลากรที่ทำงานในบริษัทนั้น ๆ คือคนที่มีบทบาทสำคัญต่อการแสดงความ
รับผิดชอบทางสังคมของบริษัท ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หาก
บุคลากรแต่ละคนมิได้ดำเนินการอะไรไปมากกว่าการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับ
มอบหมาย ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่บริษัทจะสร้างผลลัพธ์ในเชิงบวกแก่สังคมอย่าง
ต่อเนื่องและแสดงความรับผิดชอบทางสังคมได้อย่างเต็มที่ ในแต่ละวันบุคลากร
ทุกคนที่ทำงานในบริษัทต้องปรับปรุงการทำงานของตัวเองแม้เพียงเล็กน้อยก็
ตาม สิ่งนี้จะนำไปสู่การยกระดับและการพัฒนาวิถีชีวิตของผู้คนและสังคมได้