นโยบายพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทพานาโซนิค 8. การบริหารรับผิดชอบแบบเอกเทศ

ในกลุ่มบริษัทพานาโซนิค การบริหารจัดการมิได้เป็นเพียงความรับผิดชอบ
ของผู้บริหารเท่านั้น พนักงานทุกคนต้องทำงานโดยมองว่าตนเองเป็นผู้รับผิดชอบ
และเป็นผู้บริหารงานของตนเอง ตลอดจนรับผิดชอบและบริหารจัดการอย่างเป็น
เอกเทศในขณะที่ยังคงต้องปฏิบัติตามนโยบายของบริษัทไปด้วย นี่เป็นแนวคิด
พื้นฐานของการบริหารรับผิดชอบแบบเอกเทศ

ในทุกองค์กร นอกจากปฏิบัติตามปรัชญาและนโยบายของผังองค์กร
ระดับสูงแล้ว ทุกคนต้องทำงานโดยตระหนักว่านี่เป็นธุรกิจของตนเองและ
ดำเนินการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นด้วยตนเองอยู่เสมอ การบริหารรับผิดชอบแบบ
เอกเทศเป็นหนึ่งในรากฐานของการบริหารจัดการภายในกลุ่มบริษัทพานาโซนิค
และเป็นวัฒนธรรมองค์กรในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของเราอีกด้วย

ผู้ก่อตั้งบริษัทได้กล่าวถึงกุญแจสำคัญในการบริหารรับผิดชอบแบบเอกเทศ
สำหรับธุรกิจไว้ว่า “ประการแรก ตัวผู้บริหารเองควรตระหนักในหน้าที่ และ
ปรัชญาการบริหารจัดการอย่างแน่วแน่ เพื่อถ่ายทอดและปลูกฝังสิ่งเหล่านั้นให้กับ
พนักงาน” รวมถึง “อย่าลังเลที่จะมอบหมายงานให้ลูกน้อง ควรปล่อยให้พวกเขา
ทำงานภายใต้ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ของตนเอง”

เมื่อมนุษย์เล็งเห็นถึงสิ่งที่ตนเองควรทำ ตระหนักถึงความสำคัญของการทำ
ให้สำเร็จลุล่วง และรู้สึกถึงแรงจูงใจอันแรงกล้า พวกเขาจะดึงสติปัญญาของตน
ออกมา ตลอดจนพลิกแพลงวิธีการต่าง ๆ เพื่อสร้างพลังอันยิ่งใหญ่ ดังนั้นหัวหน้า
ต้องพยายามสร้างแรงจูงใจดังกล่าวเมื่อมอบหมายงานให้กับลูกน้อง การทำเช่นนี้
จะทำให้แต่ละคนรู้สึกถึงความคุ้มค่าในการทำงาน ตลอดจนก่อให้เกิดความปีติ
ยินดีและความสุขผ่านการทำงาน แนวคิดที่ว่านี้ถือเป็นรากฐานของการบริหาร
รับผิดชอบแบบเอกเทศ

ผู้ก่อตั้งบริษัทใช้ถ้อยคำว่า “Employee Entrepreneurship (การเป็น
ผู้ประกอบการโดยตัวพนักงานเอง)” เพื่ออธิบายวิธีเผชิญหน้ากับการทำงานของ
พนักงานแต่ละคน เขาเรียกร้องให้พนักงานทำงาน พิจารณาสิ่งต่าง ๆ และ
ตัดสินใจด้วยความมุ่งมั่นที่ว่า “เราต่างเป็นตัวละครหลักหรือเป็นผู้บริหารองค์กร
อิสระแห่งหนึ่ง”

เมื่อใช้แนวคิด “Employee Entrepreneurship (การเป็นผู้ประกอบการโดย
ตัวพนักงานเอง)” พันธกิจของแต่ละคนที่ปฏิบัติหน้าที่ย่อมเป็นการนำความสามารถ
ทั้งหมดของตนมาใช้กับการสร้างวิธีการและขั้นตอนที่ดีกว่าเดิม ตลอดจนวิธีการ
และขั้นตอนเหล่านั้นไปปฏิบัติด้วยความกล้าหาญเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น
การรู้สึกถึงความรับผิดชอบเช่นนี้คือสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้

เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบที่ว่านี้ คุณ โมริมาสะ โอกาวะ ผู้รับผิดชอบ
ธุรกิจเตาอบไมโครเวฟมาตั้งแต่ช่วงก่อตั้งหน่วยธุรกิจ รวมทั้งทำให้ธุรกิจดังกล่าว
เติบโตเป็นธุรกิจระดับโลก และก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานบริษัท
Matsushita Housing Equipment ในภายหลัง เขาเป็นผู้นิยามคำว่า “ความรู้สึก
รับผิดชอบแบบเอกเทศ” ขึ้นมา เราทุกคนต้องมีความรู้สึกรับผิดชอบแบบเอกเทศ
และดำเนินการตามแนวคิดเรื่อง Employee Entrepreneurship (การเป็นผู้ประกอบการ
โดยตัวพนักงานเอง)

นอกจากนี้ เมื่อผู้ก่อตั้งบริษัทถ่ายทอดแนวคิดเรื่อง Employee Entrepreneurship
(การเป็นผู้ประกอบการโดยตัวพนักงานเอง) แก่พนักงานรุ่นเยาว์ เขาได้เปรียบเทียบ
ว่าองค์กรธุรกิจอิสระก็เหมือนกับ “ร้านโยะนาคิอุด้ง*” เจ้าของร้านตั้งใจขายอุด้ง
ด้วยตนเอง มีการสอบถามลูกค้าว่า “วันนี้รสชาติเป็นอย่างไร” และปรับปรุงร้าน
ให้ดียิ่งขึ้นตามคำติชมของลูกค้า เขาขอให้พนักงานมีความพยายามและความ
กระตือรือร้นเช่นเดียวกับเจ้าของร้านอุด้ง

แม้ว่าคุณจะเป็นสมาชิกขององค์กรขนาดใหญ่ก็ตาม การทำงานตามที่ได้รับ
มอบหมายหรือปฏิบัติตามระบบและขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างเดียวนั้นยังไม่
เพียงพอ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือเราทุกคนต้องคิด และดำเนินการปรับปรุงอย่าง
ต่อเนื่องอยู่เสมอ เพื่อยกระดับให้ดียิ่งขึ้น

ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ลูกค้าจะไม่เลือกเรา
อีกต่อไป หากเราทำงานตามวิธีคิดและมุมมองของเราเพียงอย่างเดียว เราต้อง
ตั้งเป้าหมายให้สูงขึ้นเสมอ ภายใต้ความคิดที่ว่า “สิ่งที่ดีที่สุดในวันนี้ย่อมไม่ใช่สิ่ง
ที่ดีที่สุดอีกต่อไปเมื่อวันพรุ่งนี้มาถึง พรุ่งนี้จะต้องสร้างสิ่งที่ดีที่สุดของวันพรุ่งนี้
ขึ้นมาใหม่”

* ร้านอุด้งรถเข็นที่เปิดให้บริการช่วงกลางคืน เสียงขลุ่ยที่เจ้าของร้านใช้
เป่าเรียกลูกค้าเรียกว่า “โยะนาคิ" หรือเสียงร้องตอนกลางคืนนั่นเอง

“ระบบหน่วยธุรกิจ” ที่นำมาใช้ในปี พ.ศ. 2476 คือการนำแนวคิดการบริหาร
รับผิดชอบแบบเอกเทศมาทำให้เป็นรูปเป็นร่าง ระบบหน่วยธุรกิจเป็นระบบ
องค์กรที่สร้างผลกำไรอย่างอิสระ โดยมีการแบ่งบริษัทออกเป็นหน่วยธุรกิจตาม
ผลิตภัณฑ์และรับผิดชอบทุกอย่างแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่การพัฒนาไปจนถึงการผลิต
การจำหน่าย และการจัดการรายรับรายจ่าย หน่วยธุรกิจจำเป็นต้องมีการบริหาร
รับผิดชอบแบบเอกเทศ สิ่งนี้เองที่นำไปสู่การพัฒนาผู้จัดการและพนักงานของ
หน่วยธุรกิจนั้น ๆ และด้วยวิธีการนี้เอง กลุ่มบริษัทพานาโซนิคในปัจจุบันจึงถือ
กำเนิดขึ้น

เพื่อให้ได้คุณภาพ ต้นทุน และบริการที่ไม่เป็นสองรองใคร ตลอดจนผ่าน
การคัดเลือกโดยลูกค้าของเรา สิ่งสำคัญคือ การให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการ
บริหารจัดการด้วยภูมิปัญญาร่วมที่แท้จริงในทุกแผนกของกลุ่มบริษัท

ชุดของแนวทางการทำงานสำหรับพนักงานทุกคนในการพยายามนำปรัชญาธุรกิจพื้นฐานมาใช้ประโยชน์